วันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

5 ทักษะติดตัวที่ไม่ต้องกลัวโลกยุคใหม่ By โค้ชจุ๋มรัตนาภรณ์ ทองดอนใหม่

หัดว่ายน้ำตอนเรือล่ม ”มีหรือจะรอด”

นี่คือ “5 ทักษะอยู่รอดโลกยุคใหม่” ที่ผมได้มีโอกาสไป Share ให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัย Stanford ครับ
 
1)
.
#ทักษะที่ 1
SOLVElution (Solve + Solution)
.
.
ไม่รู้แจ้ง “จ่ายแพง” ที่สุดเสมอ
.
บางคนเมื่อเกิดปัญหา “มักแก้ไขแบบไม่เด็ดขาด” แก้แบบฉาบฉวยแทนการมอง “ต้นตอของปัญหา” แล้วแก้ที่สาเหตุ
.
พอผ่านพ้นไปได้แบบเฉพาะหน้า ผลที่ตามมาอาจหนักกว่าเดิม
.
ผมเชื่อมั่นว่าทุกปัญหาอุปสรรคล้วนมีทางออกครับ
.
แต่การที่เรา “ไม่รู้แจ้ง” อย่างถ่องแท้ จึงมักเกิดปัญหาใหม่อีกเรื่อย ๆ
.
มีคนเชื่อว่าแค่ “รู้จักหรือรู้จริง” บางเรื่องก็พอแล้ว และปลอบใจตัวเองด้วยคำว่า “ไม่เป็นไรนะ”
.
สำหรับโลกที่เปลี่ยนแปลงเร็ว คำว่ารู้จักหรือรู้จริง “อาจไม่พอ” เพราะชนิดของปัญหาจะเปลี่ยนทรงไป
.
พอเรา “ไม่รู้แจ้ง” ก็ต้อง “จ่ายแพง” เสมอในการแก้แต่ละครั้ง เพราะเราพลิกแพลงไม่ได้
.
และหากยังชินกับคำว่า “ไม่เป็นไรนะ” เราก็อาจ “หายนะ” ได้ง่าย ๆ เช่นกัน
.
พอ “ไม่รู้แจ้ง” เราก็จะเรียนรู้ผิดประเภท ขาดทักษะในการแก้ไขอย่างเป็นระบบ ขาดการสรรหาที่ปรึกษาที่ผ่านสนามจริง และเลือกใช้วิธีที่ตื้นเขินผิดพลาด
.
ส่ิงที่ตามมาก็คือ “สะสมปัญหาใหม่” จนกลายเป็น “มหันตภัยร้าย” ที่คาดไม่ถึงในเวลาต่อมา
.
ที่สำคัญ หากเราแก้ปัญหาตัวเองไม่ได้
.
เราจะไป "แก้ปัญหา” ให้กับลูกค้าของเราได้อย่างไร
.
ดังนั้น เราต้องพัฒนาทักษะนี้ให้ได้เป็นลำดับแรก
.
.
2)
.
#ทักษะที่ 2
InNICHEation (Niche + Initiation)
.
.
หวังตอบโจทย์ทุกคนจะ “ไม่ได้ผล” สักอย่าง
.
การทำธุรกิจแบบ “หว่านแห” ในวงกว้างโดยมีผลิตภัณฑ์ที่ไร้ความแตกต่าง และโหนตามกระแสที่เกิดขึ้น อาจเป็นความสำเร็จที่ดีในอดีต
.
แต่ยุคนี้เราใช้วิธีเดิมอีกต่อไปไมได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงมีหลายรูปแบบและเร็วกว่าที่คิด
.
ทักษะที่ 2 นี้คือ การมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำสิ่งใหม่ให้แก่ “กลุ่มเฉพาะที่เราเลือก”
.
หัวใจสำคัญคือการ “เลือกกลุ่มเฉพาะที่มีกำลังซื้อ” แล้วใช้กลยุทธ์ให้เขาเลือกเราเป็นตัวจริง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความเฉพาะอย่างชัดเจน
.
ผมขอยกตัวอย่างกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่ม LGBT (กลุ่มบุคคลหลากหลายทางเพศ) ซึ่งนักการตลาดรุ่นเก่าบางคนเฉยเมยและมองข้าม
.
รวมถึงกลุ่ม Wealthy Aging Populations (กลุ่มผู้สูงวัยที่มีกำลังซื้อ) กลุ่มนี้มีเวลาและ Lifestyle ที่พร้อมจับจ่ายใช้สอยท่ามกลางโลกที่ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ
.
อีกทั้งกลุ่ม Generation Alpha (เด็กรุ่นใหม่ที่เกิดและคุ้นชิน Digital) ที่เราสามารถไปสร้างความสัมพันธ์ตั้งแต่ต้น เพื่อเกิดเป็นฐานกลุ่มใหม่ ดีกว่าที่จะไปเลือกกลุ่มเดิมๆที่แข่งขันอย่างดุเดือด
.
จะเห็นว่า “กลุ่มเฉพาะที่มีกำลังซื้อ” ยังมีช่องว่างอีกมากในธุรกิจ แต่ขาดการตอบสนองจากผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์
.
ดังนั้น เราต้องก้าวข้ามเกมการแข่งขันแบบดาษดื่นที่ไร้ความแตกต่างและรอวันล้มหายไปจากโลกธุรกิจ ด้วยทักษะและมุมมองใหม่นี้
.
.
3)
.
#ทักษะที่ 3
CORElaboration (Core + Collaboration)
.
.
เสริมเติมความแกร่ง “เพื่อจุดแข็ง” ที่เหนือกว่า
.
ไม่มีใครเก่งไปทุกเรื่อง เมื่อเราเชี่ยวชาญหนึ่งอย่าง เราก็ไม่สามารถสร้างความสำเร็จได้ด้วยตัวคนเดียวเป็นแน่
.
ทักษะนี้คือ การ “รวบรวมและประสาน” แก่นของคนเก่งให้เกิดความร่วมมือร่วมใจ ผสานความแกร่ง สร้างจุดแข็งเพื่อผลลัพธ์ที่ดีกว่า
.
ผมมีหลักในการประสานแก่นของคนเก่งด้วย 3 สิ่งนี้
.
1). ต้องสรรหาแก่นความสามารถของคนเก่งแต่ละด้านให้ “แตกต่างกัน” และไม่ขัดแย้งหรือซ้ำซ้อนกัน โดยสิ่งนั้นต้องเกื้อหนุนกันได้
.
2). ต้องกำหนดและรู้เป้าหมายให้ “ชัดเจน” ว่าเพื่อสร้างสรรค์อะไร และแก่นแต่ละคนส่งผลต่อความสำเร็จอย่างไร
.
3). ต้องคิดผลประโยชน์ที่คุ้มค่าใน “มูลค่าความสามารถ” ของทุกคนเสมอ และสิ่งนี้ต้องคุยให้ “กระจ่างชัดเจน” ก่อนร่วมมือกัน
.
ดังนั้น ทักษะที่ 3 นี้จึงจำเป็นเมื่อเราแก้ปัญหาได้อย่างรู้แจ้ง และเลือกกลุ่มเฉพาะได้แล้ว
.
หากเราไม่มีคนเก่งมาร่วมด้วย ทุกอย่างก็จะจบลงแค่แผนการณ์เท่านั้น
.
.
4)
.
#ทักษะที่ 4
NeGROWtiation (Grow + Negotiation)
.
.
ต่อรองเก่งทุกเรื่อง “ไม่ได้” เจริญรุ่งเรืองทุกครั้ง
.
“การเจรจาต่อรอง” เพื่อได้ประโยชน์สูงสุดโดยเสียน้อยที่สุดนั้น อาจกลายเป็นทักษะยุคเก่าและนำไปสู่การ “อยู่ไม่ได้ไปไม่รอด”
.
ทักษะที่ 4 นี้จำเป็นมากเพราะ “ทัศนคติการต่อยอดนั้น” ได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าเสมอ
.
หากเรา “ไม่ตรงไปตรงมา” แล้วต่อรองได้ประโยชน์มากกว่า ท้ายที่สุดไม่ช้าก็เร็วอีกฝ่ายย่อมรู้แน่
.
และหากคิดว่า “เราเหนือกว่าอีกฝ่าย” จนต่อรองอะไรก็ได้ เราอาจชนะวันนี้ “แต่จะแพ้” วันหน้าแน่นอน
.
หลักเจรจาต่อยอดนั้น “ไม่ยากครับ” แค่คิดถึงประโยชน์ของผู้อื่นก่อนประโยชน์เรา
.
ที่สำคัญ “ต้องไม่มีใครได้ใครเสีย และได้อย่างเป็นธรรมทุกฝ่ายเสมอ”
.
เรื่องนี้พูดง่าย แต่ทำจริง “ยากครับ” เพราะคนส่วนใหญ่ย่อมคิดถึงประโยชน์ตนก่อน
.
แต่ในทางกลับกัน
.
การต่อยอดโดยใช้หลักผู้อื่นก่อนนั้น กลับกลายเป็น “เกราะป้องกัน” เราในระยะยาว
.
หลาย ๆ ครั้งผมเองก็ “เสียเปรียบทางธุรกิจ” ด้วยการต่อยอดเช่นกัน
.
แต่การเสียเปรียบไม่เคยเป็น “การขาดทุน” สำหรับผม
.
ผม “กำไรทุกครั้ง” ถึงแม้จะเสียประโยชน์ เพราะอย่างน้อยผมก็ได้ “คัดกรอง” คนที่ไม่ใช่ออกไปได้เสมอ
.
และสำหรับ “คนที่ใช่” นั้น เขาก็จะส่งต่อเรื่องนี้ของผมไปในวงกว้างซึ่งก็เป็นการต่อยอดให้กับผมอยู่ดี
.
ผมมั่นใจว่าเมื่อทักษะนี้ติดตัวเรา จะมีคนอยากเจรจาและ “เสนอโอกาส” ให้เราได้ต่อยอดอยู่บ่อยแน่ ๆ
.
เพราะพวกเขามั่นใจใน “กิตติศัพท์” ของเราว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับพวกเขา “มากกว่า” ส่ิงที่พวกเขาทำได้เองเสียอีก
.
หัวใจของทักษะนี้ก็คือ
.
“หากเราเจรจาต่อยอดได้เก่ง คนเก่งก็ยินดีจะมาต่อยอดให้กับเรา” ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นต้นทุนที่มีมูลค่าอย่างมั่นคงต่อไป
.
.
5)
.
PUREsuasion (Pure + Persuasion)
.
.
อารมณ์ความรู้สึกอยู่ไม่นาน ตรรกะและหลักการอยู่คงทน
.
ในมุมมองผม “การโน้มน้าวจิตใจเป็นสิ่งชั่วคราว”
.
กลยุทธ์ที่มุ่งชักชวน ชี้นำด้วยเรื่องดึงดูดใจโดยทำให้เกิดความลุ่มหลง คล้อยตามจนนำไปสู่การตัดสินใจ โดยไม่ได้ให้ความจริงอย่างถ่องแท้นั้น
.
เมื่อปิดการขายได้แล้ว และพอหมดห้วงอารมณ์ดึงดูดเหล่านั้น ลูกค้าจะรู้สึกเสียดายว่า “ไม่รู้จะซื้อมาทำไม”
.
วิธีนี้ให้ผลเสียมากกว่าผลดี
.
อีกทั้ง การโน้มน้าวจิตใจด้วยเรื่องเท็จ ขาดหลักการและตระกะก็ไม่ต่างอะไรกับ
.
“การกินยาพิษที่รอวันออกฤทธิ์”
.
สาเหตุที่คนบางกลุ่มต้องใช้หลักการโน้มน้าวหรือจูงใจแบบไร้เหตุผลก็เพราะ
.
ขาดความสามารถในการ “พัฒนาสินค้าและบริการ” ที่มีศักยภาพในการแข่งขันได้
.
คนกลุ่มนี้จึง “ไม่เหลือทางเลือกมากนัก” เพราะการโน้มน้าวจูงใจแบบไร้ตรรกะ อาจจะเป็น “ทางเลือกเดียว” เพื่อการอยู่รอด
.
ทักษะที่ 5 นี้ผมให้ความสำคัญสูงสุด เพราะ
.
การฝึกฝนการเหนี่ยวนำจริงให้มีศิลปะนั้น “ไม่ง่าย” เลยครับ
.
หากแสดงออก “น้อยเกินไป” ก็ดูขาดเสน่ห์ ไม่น่าสนใจ และไม่มีใครอยากฟัง
.
หากแสดงออก “มากเกินไป” ต่อให้น่าฟัง ก็จะมีคนระวัง และดูไม่น่าเชื่อถือ
.
ดังนั้น การฝึกฝนศิลปะการนำเสนอความจริงออกมาให้จับใจได้อย่างกลมกล่อมและมีคุณภาพนั้น
.
ผมมั่นใจว่าต่อให้ผ่านไปกี่ยุคกี่สมัยก็ตาม ทักษะนี้จะยังเป็น "ท่าไม้ตาย" ที่ Technology จะไม่สามารถมาทดแทนมนุษย์ที่ฝึกฝนเรื่องนี้ได้
.
และรางวัลที่คุ้มค่าก็จะ "ตอบแทน" ให้แก่ผู้ที่ลงทุนกับตัวเองอย่าง"คู่ควร" เสมอ
.
.
ท้ายสุดนี้
.
ผมเชื่อว่า Crucial Skill ทั้ง 5 ข้อ หากใครฝึกฝนจนเป็น “ทักษะติดตัว” ได้แล้วนั้น
.
การรับมือในเรื่องต่างๆ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวลอีกต่อไปครับ
.
.
เราไม่อาจหัดเรียนว่ายน้ำขณะเรือล่มได้...ฉันใด
.
การขาดทักษะการอยู่รอดก็ไม่อาจทำได้...ฉันนั้น
.
Credit : Dr. Jame Nitit
------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ติดตามบทความดี ๆ เกี่ยวกับศาสตร์ความสำเร็จได้ที่ เฟสบุ๊คแฟนเจ ทักษะสร้างเงินล้าน : Millionaire Skill
หรือ คลิกที่ลิงค์ https://www.facebook.com/MillionaireSkills

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

Subscribe

Flickr